ความรู้เกี่ยวกับ ซอฟต์แวร์ Robotics Process Automation

 

ในยุคที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ 4.0 แล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาไปไกล จนถึงขั้นที่คิดค้นซอฟแวร์ที่ควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนคน คิดแทนคนเพื่อสร้างความสะอวดสบายมากขึ้น อย่าง ซอฟแวร์ Robotics Process Automation ที่กลายเป็นซอฟแวร์ที่น่าสนใจ และไม่ควรมองข้ามเลย แน่นอนว่าถ้ามีเจ้าซอฟแวร์นี้ใช้งานอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ ล่ะก็ คนทำงานมีร้อนๆ หนาวๆ ในหน้าที่การงานแน่ ส่วนใครที่สนใจอยากศึกษาเกี่ยวกับเจ้าซอฟแวร์ตัวนี้ให้มากขึ้น ตามเรามาเลย

ซอฟแววร์ Robotics Process Automation

ซอฟแวร์ Robotics Process Automation หรือ RPA เป็นซอฟแวร์ที่ถูกคิดค้นเพื่อนำมาทำหน้าที่แทนคน หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นหุ่นยนต์ หรือ Robot มีความสามารถล้นเหลือ หลากหลายด้าน ไม่ว่าจะช่วยลดเวลาที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบเชื่อมต่อต่างๆ และลดเวลาการทำงานที่ต้องทำเหมือนเดิม ซ้ำๆ รวมถึงช่วยเก็บหรือคีย์ข้อมูลต่างๆ ให้กับเราแบบอัตโนมัติ เกิดความผิดพลาดได้น้อยเมื่อเทียบกับมนุษย์ หรือคนทำงาน

เราใช้ RPA เพื่ออะไร??

เชื่อว่าคำถามนี้อาจเกิดขึ้นในหัวหลายคน ที่เราจะใช้งานซอฟแวร์ตัวนี้เป็นเพราะในปัจจุบันมีการแข่งขัยทางธุรกิจมากมาย ใครที่เติบโตเร็ว ทำก่อนก็จะได้ก่อน มีคนสนใจใช้บริการ กลายเป็นผู้นำไปเลย แน่นอนว่าก่อนจะไปถึงขั้นนั้นได้กระบวนการทำงานภายในต้องมีประสิทธิภาพมาก รวดเร็ว ทำไปได้เรื่อยๆ ไม่ผิดพลาด หรือถ้าจะผิดพลาดก็น้อยมาก ซึ่งมนุษย์เรามีขีดความสามารถจำกัดหลายข้อ เช่น เวลาเก็บ หรือคีย์ข้อมูลอาจเกิดความผิดพลาดได้ พิมพ์ผิด หรือใช้เวลานานกว่าจะคิด กว่าจะตัดสินใจแต่ละครั้ง รวมถึงเกิดความเหนื่อยล้าจากการทำงานทำให้สับสัน งงเมื่อทำงานต่างๆ อยู่ได้ และสิ่งที่ซอฟแวร์ RPA ถูกนำมาใช้ก็เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เกิดการตอบโจทย์ในการทำงานของผู้บริหารองค์กรมากขึ้น เช่น เนื่องด้วยเป็นการสื่อสารระหว่างคอมฯกับคอมฯ จึงเกิดการทำงานที่เร็วมาก ทำงานได้ตลอด 24 ชม. ไม่ต้องหยุดพักได้ ทำตามคำสั่งที่กำหนดไว้ทำให้ข้อผิดพลาดในการทำงานมีน้อย ไม่จำเป็นต้องสมัครหาคนงานแค่เพิ่มจำนวนหุ่นยนต์จากซอฟแวร์เป็นพอ

การทำงานของซอฟต์แวร์ RPA

อย่างที่บอกไปตอนต้นว่าซอฟต์แวร์ RPA ทำตามคำสั่งที่กำหนดไว้เสมือนทำงานกับหุ่นยนต์ ซึ่งหุ่นยนต์ในที่นี้แห่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. Unattended Bots : พูดง่ายๆ ก็คือหุ่นยนต์ที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคน หรือไม่ทำงานร่วมกันคนใดๆ เราจะใช้หุ่นยนต์ประเภทนี้ก็ต่อเมื่อมีงานเยอะ ประมาณมาก กระบวนการทำงานซับซ้อนซึ่งถ้าเอามาทำงานร่วมกับคนอาจจะยุ่งยาก จึงใช้นอกเวลาทำงาน โดยตั้งเป็น schedule

2. Attended Bots : ในเมื่อมีหุ่นยนต์ที่ไม่ทำงานร่วมกับคนไปแล้ว ประเภทนี้จึงเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับคนได้นั่นเอง เหมาะมากที่จะนำไปทำงานที่ต้องการความเร็ว ทำให้คนสามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อได้ทันที โดยจะมีการทำงานต่อเมื่อมีคนไปสั่งการ หรือไปกระตุ้นวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น สั่งงานให้ทำผ่าน API, ระบบปฏิบัติการวินโดว์ก็รันจาก short cut เอา หรือสั่งงานโดยเรียกผ่านคำสั่งต่างๆ ฯลฯ

ในส่วนของการสร้างหุ่นยนต์การทำงานนี้ขึ้นมาเราสามารถสร้างได้หลายวิธี ทั้ง เขียนต้นฉบับโดยตรงขึ้นมาให้เลย หรือบันทึกการทำงานจากจอที่เราทำงานอยู่แล้วไปแปลงเป็นต้นฉบับที่ตัวซอฟแวร์ของหุ่นยนต์เข้าใจได้ แต่ละวิธีก็จะต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของซอฟแวร์หุ่นยนต์นั้นๆ ด้วยเช่นกัน

และนี่ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ Robotics Process Automation หรือ RPA ที่เราได้นำมาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์ได้ งานออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ทั้งนี้ เราก็ต้องมีกระบวนการทำงานชัดเจน เข้าใจแจ่มแจ้งด้วย เพื่อกำหนดการทำงานของซอฟแวร์ได้อย่างถูกต้อง หุ่มยนต์ที่ใช้งานแสดงความสามารถที่แท้จริงออกมาได้ขั้นสุด องค์กรประสบความสำเร็จ กลายเป็นผู้นำแข่งขันไปโดยปริยาย